วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

วัดเนรมิตวิปัสสนา อ.ด่านซ้าย จ.เลย


วัดเนรมิตวิปัสสนา 
อยู่ห่างอำเภอด่านซ้าย ๑ กิโลเมตร เป็นวัดที่มีพระอุโบสถทำจากศิลาแลงที่สวยงาม ที่สุดภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธราชชินราชจำลอง และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างเขียน ชาวด่านซ้าย วัดนี้สร้างด้วยทุนทรัพย์มหาศาล ซึ่งก่อสร้างได้เพราะบุญบารมีของ พระครูภาวนาวิสุทธิญาน (หลวงพ่อมหาพัน) ที่มรณภาพไปแล้ว เป็นสถานที่ที่ใครเดินทางมาถึงด่านซ้าย ไม่ลืมแวะไปนมัสการและเที่ยวชม
ตั้งอยู่สูงเด่นอยู่เนินเขา ห่างจากพระธาตุศรีสองรักษ์เพียงเล็กน้อย พระอุโบสถ และเจดีย์ภายในวัดก่อสร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง ที่เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ ออกแบบโดยพระและเณร ภายในพระอุโบสถตกแต่งไว้ตามแบบศิลปะ ส่วนกลาง มีพระพุทธชินราช จำลองเป็นพระประธานและมีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อมหาพันธ์ สีลวิสุทโธ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่ม และได้มรณภาพแล้ว ประดิษฐานอยู่และมีภาพจิตกรรมที่สวยงาม ประดับอยู่โดยรอบพระอุโบสถ นอกจากนี้บริเวณพื้นที่โดยรอบมีการจัดแต่งสวนต้นไม้ที่ร่มรื่นสวยงาม และมีต้นไม้ที่ สำคัญทางพุทธศาสนา คือ " ต้นสาละ" เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ

สิ่งที่น่าสนใจในวัดเนรมิตวิปัสสนา
1.อุโบสถวัดเนรมิตวิปัสสนา
 ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ประกอบด้วยคานคอดิน อุโบสถเป็นลักษณะแบบทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วย กระเบื้องเซรามิก ฝาผนังเป็นศิลาแลงที่นำมาจากจังหวัดลำพูนและจังหวัดปราจีนบุรี พื้นของอุโบสถปู ด้วยหิน แกรนิตสีชมพูจากแหล่งหินแกรนิตในจังหวัดเลย ประตูหน้าต่างเป็นไม้มะค่าแผ่นเดียวเมื่อเข้ามาในโบสถ์จะพบ กับความงดงามของพระประธานปางมารวิชัยซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธชินราช โอสถ จำลองแบบมาจาก วัดมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกทั้งยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังลวดลายอ่อนช้อยด้วยศิลปะ ของช่างเขียนชาว ด่านซ้าย ซึ่งใช้เวลาวาดนานถึง 8 ปี เป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ ภาพพระเวสสันดรชาดก และภาพทศชาติ รวมทั้งมี พระพุทธรูปปางนาคปรก พระแก้วมรกต รูปเหมือนหลวงพ่อโต

                                             อุโบสถซึ่งสร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง

 

พระพุทธชินราชจำลอง

ปฎิมากรรมฝาผนัง


ทำบุญปิดทองลูกนิมิตร่วมสร้างโบสถ์


ไม่มีเซียมซีมีแต่คำสอนหล่วงพ่อที่ให้เสี่ยงทาย


2.มณฑปพระครูภาวนาวิสุทธิญาณ
เป็นมณฑปที่สร้างด้วยศิลาแลง เช่นกัน ที่มณฑปแห่งนี้ตั้งของหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อมหาพันธ์ สีลวิสุทโธ หรือพระครูภาวนาวิสุทธิญาณ ซึ่งเป็นผู้ร่วมกับพุทธศาสนิกชนร่วมกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นรวม ทั้งสังขารของหลวงพ่อ ซึ่งไม่เน่าเปื่อยให้พุทธศาสกนิกชน และลูกศิษย์ได้มากราบไหว้


ประวัติวัดเนรมิตวิปัสสนา
วัดเนรมิตวิปัสสนา ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยพระครูภาวนาวิสุทธิญาน หรือหลวงพ่อมหาพันธ์ สีลวิสุมโธ เจ้าอาวาสรูปแรก แต่เดิม วัดมีชื่อว่า "วัดหัวนายูง" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดเนรมิตวิปัสสนา"ในปีพ.ศ. 2521 ขณะหลวงพ่อมหาพันธ์ สิลวิสุทโธ พำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดจำปา จังหวัดสุรินทร์ (บ้านเกิด) ท่านได้ปรารภในที่ ประชุมสงฆ์ว่า ท่านจะออกธุดงค์เดินทางไปเรื่อยไม่พำนักเป็นหลักแหล่งถาวรแต่ที่ประชุมมีความเห็นพ้องกันว่า หลวงพ่อมีอายุมากเกรงว่าจะได้รับความลำบาก อยากให้ท่านมีที่พำนักถาวร จะได้เป็นที่อาศัยเป็นเนื้อนา บุญแก่ ญาติโยมทั้งหลายซึ่งหลวงพ่อเองก็เห็นชอบด้วย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2522 หลวงพ่อเป็นประธานออกเดินธุดงค์ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ได้เดินทางไปพำนักอยู่ที่พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ระหว่างนั้นหลวงพ่อได้ตัดสินใจหาสถานที่เป็นหลักแหล่งมั่นคงถาวร โดยเลือกเอาพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติซึ่ง ถูก ชาวบ้านบุกรุกเพื่อทำไร่เผาถ่านจนมีลักษณะเป็นที่โล่งเตียน เหมือนภูเขาหัวโล้น ที่เรียกว่า ภูเปือย ซึ่งทางวัดได้ รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยได้เมื่อตั้งวัดขึ้นจึงได้ปลูกป่าอนุรักษ์ให้คง สภาพเดิมมากที่สุด  เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2522 หลวงพ่อและคณะได้ปักกลดอยู่ ณ ที่ตั้งวัด พร้อมกับเร่งดำเนินการปลูกสร้างที่พักอาศัย ชั่วคราวขึ้น จากนั้นจึงทำการปรับพื้นที่ ปลูกสร้างถาวรวัตถุและในปีพ.ศ. 2529 ได้ร่วมกันสร้างอุโบสถ ภายในวัด ขึ้นมีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2540 หลวงพ่อท่านได้ มรณภาพภาพลง แต่ร่างของท่านไม่เน่าเปื่อย ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ใน มณฑปด้านหลังอุโบสถ หลังจากที่หลวงพ่อมรณภาพลง พระครูภาวนาวิสุทธาภรณ์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้รับ เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างต่อ พร้อมด้วยบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ พระภิกษุสามเณร ข้าราชการ ทหารตำรวจ พ่อค้าและประชาชนชาวอำเภอด่านซ้าย ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 197 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 14 ปี จึงแล้วเสร็จต่อมาในปีพ.ศ. 2549 วัดหัวนายูง เปลี่ยนชื่อเป็น วัดเนรมิตวิปัสสนา




วัดเนรมิตวิปัสสนา
20 หมู่ 14 บ้านหัวนายูง ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 42120
โทร 042-891226, 086-8525950
ฝ่ายติดต่อประสานงาน
พระบุญเพ็ง วรธมฺโม 08-9426-4233
Email: boonpengv@gmail.com

http://www.watneramitvipassana.org


ภูลมโล อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ภูลมโล
ชมดอกซากุระบานทั่วภูลมโลสีชมพูขาว นับแสนต้น 1,200 ไร่โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ต้นซากุระ (พญาเสือโคร่ง)เริ่มผลิใบเหลือแต่ดอกซากุระ ซึ้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,800 เมตรช่วงฤดูหนาวจะมีอุณภูมิ 0 องศา ช่วงบ่าย 2 โมง 4 องศา  และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ช่วงเช้าจะมีอุณภูมิประมาณ 8-10 องศา ช่วงบ่าย 15-19 องศาถ้ามองไปทางทิศใต้ภูลมโล จะเห็นบ้านหมันขาวซึ้งเป็นหมู่บ้านของชาวถิ่นและเผ่าลัวะทิศตะวันออกจะเห็นภูหินร่องกล้า,ภูทับเบิก จ.พิษณุโลก ทิศตะวันตกจะเห็นภูขี้เถ้า (ซึ้งอดีตเป็นพื้นที่สีแดง ที่มีการต่อสู้ของทหารและคอมมิวนิวต์)ทิศเหนือจะเห็นชาวบ้านเผ่าม้ง บ้านตูบค้อปลูกต้นกระหล่ำปลีเขียวเต็มทั่วภูจำนวนพันไร่

 นอกจากต้นซากุระแล้วภูลมโล (บ้านหมันขาว) ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากเช่นน้ำตกหมันแดง ซึ้งมีความสูงระดับน้ำตกจำนวน 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความงดงามยิ่งแม้แต่ชาวบ้านหมันขาว และชาวบ้านตำบลกกสะทอน ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่ได้มาสัมผัสน้ำตกแห่งนี้ เพราะถนนทางขึ้นน้ำตก เป็นทางเดินป่าทางเล็กๆขึ้นลงทางลาดชัน เดินสวนทางได้ไม่สะดวกนัก และยังได้สัมผัสและเห็นสวนผลไม้เช่นส้มโอ มะม่วง ฯ ที่สมัยคอมมิวนิสต์ ได้มาแอบสร้างฐานหลบหนีเจ้าหน้าที่ปลูกเอาไว้ระยะทางถึงน้ำตกชั้นที่ 4 ประมาณเกือบ 2 ก.ม. ใช้เวลาเดินประมาณเกือบ 2 ชั่วโมง  แต่เมื่อได้แลเห็นน้ำตกแล้ว ความเหนื่อยล้าจะหายเป็นปลิดทิ้งทันทีคุ้มค่ากับการมาชมน้ำตกหมันแดง และยังมีรอยเท้าไดโนเสาร์ เป็นจำนวนมากถ้าจะเที่ยวทั้ง 3 แห่ง ใช้เวลา 1 วัน เต็มๆ ต้องเดินทางตั้งแต่เช้า

   เป็นที่น่าเสียดายที่หน่วยงานราชการยังไม่เข้ามาประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวบ้านหมันขาว ที่มีความสวย ความงาม สมบูรณ์ไปด้วยพันธ์ไม้ป่าต่างๆสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ แหล่งท่องเที่ยวนี้ จึงปิดหูปิดตา ผู้ที่ชอบผจญภัยและนักท่องเที่ยว แต่เมื่อนายวิชินณ์ คำนิมิตว์ ซึ้งได้เป็นนายก อบต.กกสะทอนสมัยแรก ก็ได้ประชาสัมพันธ์และประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมป่าไม้อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ขอเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ อำเภอด่านซ้ายจ.เลย ถึงแม้ว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังไม่สมบูรณ์ พักค้างคืนไม่ได้ ไม่มีห้องน้ำการเดินทางไม่สะดวกนัก จนกระทั้งนายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยและนายโสภณ สุวรรณรัตน์ นายอำเภอด่านซ้ายเล็งเห็นความสำคัญจึงได้สนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดเลยและยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีต้นซากุระ (พญาเสือโคร่ง)แห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับผู้ที่ต้องการมาเที่ยวบ้านหมันขาว และภูลมโล เพื่อสัมผัสธรรมชาติและต้นซากุระแบบผจญภัย ต้องมีรถโฟรวิว หรือรถยนต์กระบะเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีรถยนต์หรือมาเป็นหมู่คณะทาง อบต.สามารถจัดหารถเพื่อนำพาท่องเที่ยวได้สามารถสอบถามการเดินทางเข้าไปแหล่งท่องเที่ยวได้ที่ อบต กกสะทอน หรือ นายวิชินณ์คำนิมิตว์ นายก อบต.กกสะทอน เบอร์โทร 081-7682453 มาแล้วจะไม่มีวันลืมความสวยความหนาวเย็นสุดๆ ครั้งหนึ่งในชีวิต

 ประวัติบ้านหมันขาว บ้านหมันขาว หมู่ที่ 4  ตั้งอยู่ในการปกครองของ อบต กกสะทอน ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยอยู่ห่างจากตัวอำเภอด่านซ้ายประมาณ 69 กิโลเมตร(ทางรถยนต์) ห่างจากภูหินร่องกล้าประมาณ 4-5 ก.ม. (บนยอดภู) ชาวบ้านหมันขาวประกอบด้วย ชาวเขาเผ่าถิ่น เผ่าลัวะเดิมมีสัญชาติไทย อาศัยอยู่บริเวณทางภาคเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อพยพหนีภัยจากการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เข้าไปอยู่ในประเทศลาว และประเทศไทยที่ภูขี้เถ้า ภูลมโล และบ้านหมันขาว
    นายพุฒิ รัมจิตร ชาวถิ่นนับถือศาสนาพุทธ ผู้นำชุมชน คนปัจจุบัน เปิดเผยว่าต่อสู้เรียกร้องการขอคืนสัญชาติไทยด้วยความอดทน ตลอดระยะเวลา 35 ปี เราชนเผ่าทั้ง 2 เผ่า ต้องย้ายไปอยู่ตามศูนย์อพยพ ที่ทางการกำหนด จนกระทั่งมาตั้งถิ่นฐานที่นี่แต่ยังต้องต่อสู้ต่อในเรื่องของการแยกหมู่บ้านเนื่องจากบ้านหมันขาวยังขึ้นกับหมู่บ้านหมากแข้ง หมู่ 4 ตำบลกกสะทอน  การปกครองขอแยกเป็นหมู่บ้านพร้อมกันนั้นสาธารณูปโภคยังขาดแคลนทั้งไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทางรวมทั้งโรงเรียนสถานศึกษาสำหรับเยาวชน ที่ยังเป็นสาขาของโรงเรียนเย็นศิระบ้านหมากแข้ง ยังขาดอุปกรณ์ บุคลากร ทางการศึกษาอีกมากมายการรับรู้ข่าวสารจากทางราชการหรือจากโลกภายนอก ไม่สามารถติดต่อได้ 




ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย

ศูนย์วัฒนธรรม
 
 
ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นอาคาร 2 ชั้น รวบรวมและเผยแพร่เรื่องราวทางด้านศาสนา ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวเลยในหลายๆ ด้าน ภายในตัวอาคารศูนย์วัฒนธรรมมีการจัดแสดงแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก ห้องประชุมและฉายสไลด์เกี่ยวกับเมืองเลย และแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในอดีต ส่วนที่สอง ห้องนิทรรศการชั่วคราวจัดแสดงเกี่ยวกับพระพุทธรูปเก่าที่ทำมาจากไม้ หินทราย ติดเผาและเงิน หน้ากากผีตาโขน ข้าวของเครื่องใช้โบราณซึ่งของทั้งหมดได้มาจากชาวบ้านในท้องถิ่นเมืองเลย นอกจากนี้ยังมีส่วนนิทรรศการหมุนเวียนทุก 3 เดือนโดยจัดแสดงเรื่องราวต่างๆ ของเมืองเลยตามเทศกาลประเพณี ส่วนที่สาม มีห้อง "เบิ่งไทเลย" เป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรถือเป็นส่วนสำคัญและจัดแสดง
ได้โดดเด่นที่สุดภายในห้องขนาดใหญ่นี้จัดแสดงเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับจังหวัดเลย เนื้อหาของนทรรศการครอบคลุมในทุกด้านทั้งธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ประเพณีและกลุ่มชาติพันธุ์ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.00 น. ถ้าต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าเพื่อความสะดวกในการเข้าชม โทร.042-83522-8 ต่อ 5128

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 201 (เลย-เชียงคาน) ระยะทาง 5 กม.
ข้อมูลจาก thai-tour.com

สวนรุกขชาติภูคร่าว จังหวัดเลย

สวนรุกขชาติภูคร่าว          
 ตั้งอยู่บนทิวเขา ภูคร่าว ริมเส้นทาง สายเลย – นาด้วง เขตติดต่อระหว่างตำบลท่าสะอาด กับตำบลนาด้วง ห่างจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอนาด้วง 2 กิโลเมตร เป็นสถานที่ชมวิวบนภูเขาที่สวยงามมองเห็นทัศนียภาพของอำเภอได้ทุกตำบล ตลอดจนการชมพระอาทิตย์ตกยามสนธยา และเป็นสถานที่ตั้งศาลาปู่เจ้าภูคร่าว อันเป็นที่เคารพสักการะนับถือของผู้คนที่ผ่านไปมา


 สวนรุกขชาติภูคร่าวนั้นตั้งอยู่บนเส้นทางถนนเลย-นาด้วง ซึ่งถนนเส้นนี้ตัดผ่านภูคร่าว สถานที่แห่งนี้จึงเป็นที่สะดวกต่อการเดินทางเพื่อมาพักผ่อนทั้งการชมวิวทิวทัศน์ที่ธรรมชาติได้สร้างไว้ห้สุดแสนจะสวยงาม  สถานที่แห่งนี้เปิดให้เข้ามาชมทุกวันไม่เว้นแม้วันหยุดราชการ  มีเจ้าหน้าที่ของทางราชการ คอยให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

 ภาพที่เห็นนี้เป็น  อาคารที่จัดไว้เพื่อให้เข้าไปพักผ่อน  และมีการติดประการความรู้เล็กๆ น้อยเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ต่างๆ รวมทั้ง ข้อมูลสัตว์ป่าสงวนพันธุ์ไม้ที่หายากแล้วในปัจจุบัน

    ภาพวิวทิวทัศน์เมื่อมองลงมาจากภุคร่าว  เราจะเห็นหมู่บ้านต่างๆ ในเบื้องล่าง  จะเห็นหมู่บ้านในเขตอำเภอนาด้วง เหมาะมากสำหรับการถ่ายรูปภาพวิวสวยๆ


ภาพพันธุ์ไม้ป่าและไม้ประดับที่ดูและรักษาไวเป็นอย่างดี  ภาพซ้ายที่เป็นนั้นเป็นพันุ์ไม้ป่า  ก็มีพวก ป่าเต็งรัง มีต้นแดง ต้นประดู่ และอื่นอีกมากมายต้องให้ท่านมาชมและสัมผัสเอาเองถึงความร่มรื่นของธรรมชาติ

ที่นี่มีซุ้มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้สำหรับนั่งพักผ่อน  ซึ่งมีอยู่ทั่วไปบนสวนรุกขชาติภูคร่าวของเรา  รวมทั้งมีห้องน้ำแยกชายหญิงไว้คอย  บริการที่สะอาดเพื่อจัดไว้สำหรับรอคอยให้บริการแก่ผู้เข้ามาเยี่ยมชม

ที่มา : http://nadung.loei.police.go.th/tourphukoa.php




วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ศูนย์ศิลป์สิรินธร

ศูนย์ศิลป์สิรินทร 



ศูนย์ศิลป์สิรินทร สร้างบนเนื้อที่ทั้งหมด6ไร่ในบริเวณโรงเรียนศรีสงครามวิทยาอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลย อาณาบริเวณโดยรอบแวดล้อมไปด้วย ธรรมชาติของสวนป่า สถาปัตยกรรมการก่อสร้าง ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุด โดยฝีมือการออกแบบ ของบริษัทแปลน อาร์คิเต็ค จำกัด ศูนย์ฯ นี้เป็นสถานที่แสดงภาพเขียนของนักเรียนที่มีความสวยงามโดยสร้างชื่อเสียงทั้งในประเทศและระดับโลกมาแล้ว ทั้งยังเป็นแหล่งความรู้ทางศิลปะวัฒนธรรมประกอบด้วยหอนิทรรศการถวรและหมุนเวียน อาคารฝึกปฏิบัติงานศิลปะ และร้านจำหน่ายผลงานศิลปะและของที่ระลึก โดยได้รับชื่อพระราชทานนามว่า "ศูนย์ศิลป์สิรินธร" จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
               “ศูนย์ศิลป์สิรินธร”แห่งนี้เกิดขึ้นด้วยความคิดริเริ่มของครูสอนศิลปะ “ครูสังคม ทองมี”คุณครูศิลปะแห่งโรงเรียนศรีสงครามวิทยา ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นแหล่งผลิตผลงานทางศิลปะของนักเรียนที่มีคุณภาพ และสร้างชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและระดับโลก การก่อกำเนิดศูนย์ศิลป์  คุณสังคมต้องใช้เวลาต่อสู้ถึง 20 ปี เริ่มด้วยการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องศิลปะในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะ เรื่องของการส่งผลงานของเด็กๆ เข้าร่วมการประกวดต่างๆ  จนได้รับรางวัลมากมายรวมทั้งการต่อสู้ในหลักการเพื่อให้รัฐบาลผ่านงบประมาณในการก่อสร้าง ซึ่งก็ใช้เวลาอีก 3 ปี จึงสำเร็จ
             “ศูนย์ศิลป์สิรินธร” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เริ่มก่อสร้างขึ้นในราวปี 2536 ด้วยเงินงบประมาณ 11 ล้านบาท ด้วยความมุ่งหวังที่จะเปิดโลกทัศน์ให้กับเด็ก ๆ และผู้รักศิลปะในพื้นที่แถบภาคอีสานได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ เพื่อเสริมความรู้ที่นอกเหนือไปจากการเรียนการสอนในตำรา              
                อาคารทั้งสี่หลังของศูนย์ศิลป์ฯออกแบบเป็นรูปทรงเรียบง่ายทว่าแฝงไว้ด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์อย่างเต็มเปี่ยมมองดูคล้ายกับงานประติมากรรมที่ช่วยประดับประดาให้สวนป่าโดยรอบมีความงดงาม
                อาคารแต่ละหลังมีรูปลักษณ์ที่โดดเด่นแตกจ่างกันไปตามลักษณะของการใช้สอย  ทุกอาคารมีส่วนเชื่อมโยงถึงกันด้วยทางเดินที่เปรียบเสมือนแกนเชื่อมระหว่างอาคาร ถ้าหากมีการสร้างอาคารหลังใหม่เพื่อกิจกรรมอื่นๆ ก็สามารถสร้างต่อกันไปตลอดในแนวเดียวกัน





ข้อมูลเพื่อการเดินทาง

                ศูนย์ศิลป์สิรินทร ศูนย์ศิลป์สิรินทร อยู่ภายในโรงเรียนศรีสงครามวิทยา จากอำเภอวังสะพุงใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 210 (วังสะพุง-กิ่งอำเภอเอราวัณ) ไปประมาณ 1 กิโลเมตร ศูนย์นี้จะอยู่ทางด้านขวามือ


ที่มา http://wangsaphung.loei.police.go.th/

พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน

พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย จ.เลย




     พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน ตั้งอยู่ภายในวัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นสถานที่เก็บ และจัดนิทรรศการเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่สืบต่อกันมา รวมถึงผีตาโขนที่มีความเชื่อกันว่าเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ว่างานบุญผีตาโขนนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานบุญหลวง ที่ถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่นที่รวมเอางานบุญพระเวส (ฮีตเดือนสี่) และงานบุญบั้งไฟ (ฮีตเดือนหก) ให้เป็นงานบุญเดียวกันโดยงานบุญพระเวสมีวัตถุประสงค์จัดเพื่อให้ฟังเทศน์มหาชาติ ส่วนงานบุญบั้งไฟนั้นเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อถวาย บูชาเทวาอารักษ์รักเมือง ขอให้ฝนตกตามฤดูกาล ซึ่งผีตาโขนจะเป็นผู้ออกมาสร้างสีสันและความครื้นเครงในขบวนแห่ ส่วนชื่อของผีตาโขนนั้นเล่าต่อกันมาว่าน่าจะมาจากการสวมหน้ากากคล้ายหัวโขน หรือบางคนเรียกเป็นผีตาขน ผีตามคน และเพี้ยนเป็นผีตาโขนในที่สุด


วัดโพนชัยที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ผีตาโขน

บรรยากาศภายในวัดโพนชัย





รวมพลแก๊งค์ผีตาโขนกันเต็มลานหน้าทางเข้าห้องจัดแสดง
  นอกจากส่วนที่จัดแสดงประวัติวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ แล้วภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงหุ่นผีตาโขนที่มีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกัน และมี 2 ประเภทคือ ผีตาโขนใหญ่ ผู้ชายและผู้หญิงจะไม่มีการทำใหม่ทุกปี แต่จะทำตามธรรมเนียมที่กำหนดไว้เท่านั้น และผีตาโขนเล็กที่เราพบเห็นกันทุกปี นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขนที่มีส่วนประกอบดังนี้

-หัวของผีตาโขน ทำจากหวดนึ่งข้าวเหนียวมาหักพับขึ้นให้มีลักษณะคล้ายหมวก
-หน้าทำจากโคนก้านมะพร้าวถากเป็นรูปหน้ากาก เย็บต่อกับส่วนหัว แล้วเจาะช่องตา
-จมูกทำจากไม้เนื้ออ่อนแกะสลักเป็นรูปร่างต่าง ๆ คล้ายกับจมูกคน ปัจจุบันนิยมทำยาวเป็นงวงช้าง
-เขาทำจากปลีมะพร้าวแห้งมาตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการแล้วติดที่ข้างหวด
-การตกแต่งลวดลายเมื่อก่อนนิยมใช้สีธรรมชาติ เช่นปูนขาว ปูนแดง ขี้เถ้า ขมิ้น เขม่าไฟ ปัจจุบันนิยมสีน้ำมันเพราะสะดวกและมีสีสันสดใส จากนั้นจะนำเศษผ้ามาเย็บต่อกับหวดและหน้ากากให้ผ้าคลุมมิดไหล่

      สำเร็จเสร็จกลายเป็นหุ่นผีตาโขนในที่สุด สำหรับท่านที่ต้องการมีของที่ระลึกของฝากที่เกี่ยวกับผีตาโขนล่ะก็บนพิพิธภัณฑ์ก็มีร้านจำหน่ายของที่ระลึกไว้บริการทุกท่านด้วย

ผีตาโขนต่างสาย หน้าตาก็ต่าง ๆ กัน แต่สีสันและลวดลายข่มกันไม่ลงจริง ๆ




ภายในพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนมีการจัดแสดงการทำหน้ากากผีตาโขนและมีซุ้มจำหน่ายของที่ระลึกอีกด้วย

การเดินทาง
จากที่ว่าการอำเภอด่านซ้ายเดินทางมาตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2114 ผ่านสภอ.ด่านซ้าย และตลาดด่านซ้าย เลยสะพานข้ามไปเล็กน้อยจะเห็นวัดโพนชัยอยู่ทางซ้ายมือ พิพิธภัณฑ์ผีตาดขน อยู่ภายในวัด











ที่มา http://www.thongteaw.com/