วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

วัดพระธาตุศรีสองรัก

วัดพระธาตุศรีสองรัก


ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ. 2103 เสร็จในปี พ.ศ. 2106
พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเพื่อ เป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระมหาจักรพรรดิ) และกรุงศรีสัตนาคนหุต (ปัจจุบันคือ เวียงจันทร์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชสมบัติ ตรงกับสมัยที่พม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่าง ๆ เพื่อขยายอำนาจ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จึงตกลงรวมกำลัง เพื่อต่อสู้กับพม่า จึงทรงกระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงได้ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักเพื่อเป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นรอยต่อของทั้งสองราชอาณาจักร นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะทิเบตหัวนาคปรกสร้างด้วยศิลา องค์พระพุทธรูปสร้างด้วยทองสัมริด มีหน้าตักกว้าง 21 นิ้ว สูง 30 นิ้ว ทุกวันขึ้น 15 เดือน 6 ชาวอำเภอด่านซ้าย หรือ"ลูกผึ้งลูกเทียน" จะร่วมกันจัดงานสมโภชพระธาตุขึ้น โดยจะนำต้นผึ้ง มาถวายพระธาตุถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นประจำทุกปี พระธาตุสร้างขึ้นเพื่อสัจจะและไมตรี



พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย สร้างเมื่อ  พ.ศ.2103  แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2106 ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นสักขีพยานแสดงความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างกัน กับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต  (เวียงจันทร์)ประวัติความเป็นมาของพระธาตุศรีสองรักพระธาตุศรีสองรัก  เป็นเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีฐานเป็นเหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละประมาณ  8 เมตร  สูงประมาณ 32  เมตร  อยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตกประมาณ  1กิโลเมตรและอยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตก ประมาณ  83  กิโลเมตร  องค์พระเจดีย์ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุศรีสองรักบนเนินริมน้ำหมัน  ซึ่งเป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษุพำนักอยู่ในวัดนอกจากองค์พระเจดีย์แล้ว  ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีโบสถ์  1  หลัง  ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปนาคปรก  1  องค์  และพระพุทธรูปอื่น ๆ อีกบ้าง  และถัดองค์พระเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกมีศิลาจารึก  1  แผ่น  ซึ่งจารึกตำนานการสร้างพระธาตุศรีสองรักด้วยอักษรธรรมอยู่ด้วย



พระธาตุศรีสองรัก  ได้สร้างขึ้นในแผ่นดินของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ผู้ครอบครองกรุงศรีอยุธยาแห่งอาณาจักรสยามสมัยนั้น  และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทร์) แห่งอาราจักรล้านช้างสมัยนั้น  เพื่อเป็นสักขีพยานในการทำสัญญาทางพระราชไมตรี  และเป็นด่านกั้นเขตแดนของสองพระนครใสสมัยโน้น  ทั้งนี้เนื่องจากในระหว่างที่กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ครองราชสมบัติ  ตรงกับสมัยที่พม่าเรืองอำนาจ  เพราะพม่ามีกษัตริย์ที่เข้มแข็งในการสงครามปกครองคือ  พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้  และพระบุเรงนองได้ยกทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยาและกรุงศรีสัตนาคนหุตหลายคราว  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  จึงทำไมตรีกัน  เพื่อร่วมกันต่อสู้กับพม่าและเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีกันครั้งนี้  ได้ทรงร่วมกันสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็นสักขีพยานจึงได้ขึ้นชื่อว่า “ พระธาตุศรีสองรัก ” ตามตำนานกล่าวไว้ว่าได้สร้างขึ้น  ณ ที่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำน่านบนโคกไม้ติดกัน  เริ่มสร้างแต่ พ.ศ. 2103  ตรงกับปีวอก  โทศก  จุลศักราช 922  และเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2106  ตรงกับปีกุล  เบญจศก   จุลศักราช   925  ในวันพุธขึ้น  14 ค่ำ เดือน  6 และได้ทำพิธีฉลองสมโภชในวันพฤหัสบดี  ขึ้น  15 ค่ำ  เดือน  6การสร้างพระธาตุศรีสองรัก  นับเป็นสักขีพยานในความรักใคร่ของชนชาติเผ่าลาวในดินแดนล้านช้างสมัยนั้น  มาตั้งแต่โบราณการเป็นอย่างดี  และพระธาตุศรีสองรักนี้  ประชาชนในท้องที่จังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ  เป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในวันเพ็ญเดือน  6  จะการทำพิธีสมโภชและนมัสการพรเจดีย์ขึ้นทุกปีจนถือเป็นประเพณีตลอดมาจนทุกวันนี้  พระธาตุศรีสองรัก  นับแต่สร้างมาจนถึงปัจจุบันนี้นับได้  400  ปีเศษ  นอกจากเป็นปูชนียสถานสำคัญของอำเภอด่านซ้าย  ยังเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของจังหวัดเลย


บริเวณหน้าองค์พระธาตุศรีสองรัก  จะมีพระอุโบสถ  หรือวิหาร  ชาวบ้านเรียกกันว่า สิม สร้างอยู่ติดกับองค์พระธาตุ เป็นอาคารชั้นเดียว ขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก  ภายในวิหารแห่งนี้ จะมีพระพุทธรูปเป็นพระนาคปรก มีหัวของพญานาคอยู่ 7 หัว  ข้างซ้ายและขวาข้างละ 3  หัว  ตะรางกลางหัว 1 หัว  หน้าตกกว้างประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 1.50  เมตร   อยู่องค์หนึ่ง  ตั้งอยู่ในวิหารแห่งนี้  เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญคู่กับพระธาตุศรีสองรัก มาโดยตลอด  อายุก็ประมาน 400 กว่าปี  สร้างหลังจากสร้างพระธาตุเสร็จไม่นาน


เกี่ยวกับองค์พระธาตุศรีสองรัก  กล่าวถึงความเป็นมาของพระนาคปรกองค์นี้ว่า  เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ของอำเภอด่านซ้าย  สร้างขึ้นมาหลังจากที่สร้างพระธาตุศรีสองรักไม่นาน  เนื่องจากพิธีกรรมในการสมโภชน์และนมัสการพระธาตุศรีสองรักนั้น จะเกี่ยวตรงที่ว่า  หลังจากทำพิธีต่าง ๆขององค์พระธาตุแล้ว ก็จะมีพิธีบวชนาค และจุดบั้งไฟ  ซึ่งจะมีผู้ที่จะบวชปีหนึ่ง ๆ หลายรูป  มีการกล่าวล่าขานสืบต่อกันมาว่า  ใครที่ได้บวชที่วัดพระธาตุศรีสองรักแล้ว จะมีอานิสงส์แรงมาก  ดังนั้นจึงมีการสร้างพระประธานขึ้นมา  คือพระนาคปรกองค์

การบวชก็เป็นวิธีกรรมหนึ่งในงานนมัสการพระธาตุ โดยจะมาบวชที่วิหาร หรือสิม ที่ติดกับองค์พระธาตุนี้  โดยมีพระนาคปกเป็นพระประธานในการทำพิธี  เมื่อบวชแล้ว ผู้ที่บวชก็จะแยกย้ายกันไปจำพรรษาอยู่ตามวัดต่าง ๆ ในอำเภอด่านซ้าย  โดยเฉพาะที่วัด โพนชัย บ้านเดิน เทศบาลตำบลด่านซ้าย ดังนั้นพระนาคปรกองค์นี้จึงเป็นพระประธานที่อยู่คู่กับพระธาตุศรีสองมาตลอด  คนที่มากราบนมัสการพระธาตุศรีสองรักก็จะกราบไว้พระนาคปรกก่อนไปไหว้พระธาตุ   ถือว่าเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง



ทั้งนี้นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปสักการะองค์พระธาตุศรีสองรัก อาจจะต้องแปลกใจ เพราะว่า คนที่จะเข้าไปสักการะองค์พระธาตุได้ จะต้องห้ามใส่เสื้อผ้า ‘สีแดง’ หรือถือสิ่งของที่มีสีแดงเข้าไปบริเวณองค์พระธาตุ ด้วยเหตุผลที่ว่า.

‘พระธาตุศรีสองรัก’ เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสักขีพยานในความรักใคร่ระหว่างประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งนี้ ‘สีแดง’ อาจเปรียบได้กับ ‘เลือด’ ที่เป็นผลของการทำสงคราม ดังนั้น คนโบราณจึงมีการห้ามไม่ให้ผู้ที่สวมเสื้อผ้าสีแดง เข้าไปบริเวณองค์พระธาตุ จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบันด้วยเช่นกัน

การเดินทางสู่ พระธาตุศรีสองรัก
จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 203 เส้นเลย-ภูเรือ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กิโลเมตร ถึงอำเภอด่านซ้ายจากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กิโลเมตร

ที่มา  http://www.tinyzone.tv/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น