สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ จ.เลย
ตั้งอยู่ตำบลปลาบ่า เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านวิชาการในการศึกษาค้นคว้าทดลองไม้ดอกไม้ผล ทั้งของเมืองหนาวและพืชสวนของท้องถิ่นที่เหมาะสมกับดินฟ้าอากาศและระบบนิเวศ ได้แก่ ทุ่งซัลเวีย แปลงไม้กฤษณา สวนไม้หอมเฉลิมพระเกียรติ แปลงสตรอว์เบอร์รี่ โรงเรือนเพาะชำ ไม้กระถาง จากนั้นก็ถ่ายทอดเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยแก่เกตรกรและผู้ที่สนใจต่อไป นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าชมไม้ผลและไม้เมืองหนาวควรไปช่วงเดือนกันยายน-เมษายน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 042-891199, 042-891398
ที่นี่เป็นที่ตั้งของสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ แหล่งศึกษาวิจัยและทดลองปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวเพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าทดลอง เผยแพร่ออกไปให้แก่เกษตรกร มาเป็นระยะเวลายาวนาน บนเนื้อที่ 5,000 ไร่ ของสถานีทดลองเกษตรที่สูงแห่งนี้ โอบล้อมด้วยทิวทัศน์ของภูเขาสูง และห่มคลุมด้วยความหนาวเย็น รอคอยให้นักเดินทางผู้สนใจในเรื่อง ราวของการเกษตรที่สูงได้ก้าวเข้ามาเยี่ยมชม
ความเป็นมา
เนื่องจากในพื้นที่ภาคอีสานนั้น มีจังหวัดเลย เพียงจังหวัดเดียว ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น และมี
ระดับความสูงเหมาะสมต่อการเกษตรบนที่สูง กรมวิชาการเกษตรจึงมีความคิดที่จะจัดตั้งสถานีทดลองเกษตรที่สูงขึ้น เพื่อทำการทดลองพันธุ์พืชไม้ดอกเมืองหนาว สำหรับส่งเสริมให้แก่เกษตรกรทำการเพาะปลูกในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการสำรวจบริเวณยอดภูครั่ง อำเภอภูเรือ และป่าเสื่อมโทรม บริเวณใกล้เคียง พบว่ามีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล
เนื่องจากในพื้นที่ภาคอีสานนั้น มีจังหวัดเลย เพียงจังหวัดเดียว ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น และมี
ระดับความสูงเหมาะสมต่อการเกษตรบนที่สูง กรมวิชาการเกษตรจึงมีความคิดที่จะจัดตั้งสถานีทดลองเกษตรที่สูงขึ้น เพื่อทำการทดลองพันธุ์พืชไม้ดอกเมืองหนาว สำหรับส่งเสริมให้แก่เกษตรกรทำการเพาะปลูกในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการสำรวจบริเวณยอดภูครั่ง อำเภอภูเรือ และป่าเสื่อมโทรม บริเวณใกล้เคียง พบว่ามีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล
1,000 เมตร อันเหมาะสมสำหรับทดลองพันธุ์พืชเมืองหนาว มีแหล่งน้ำเพียงพอ และมีพื้นที่กว้างสามารถขยาย ออกไปได้ถึง 5,000 ไร่ จึงดำเนินการจัดตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ขึ้น ผลงานของสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ที่ผ่านมา คือการทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาว สำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้แก่พันธุ์แอปเปิ้ล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด พันธุ์พลัม จากการทดสอบพบว่าบางพันธุ์สามารถเติบโตได้ดีในสภาพอากาศของที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่บางพันธุ์ก็มีการเติบโตช้า ออกดอกได้เฉพาะช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น และติดผลได้ในบางปี อย่างไรก็ตามยังคงยากลำบากอยู่ในการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ส่วนการปลูกสตรอเบอรี่ และไม้ดอกเมืองหนาวนั้นที่ผ่านมา ได้ผลเป็นอย่างดี นอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ และองุ่นสำหรับรับประทานสดเพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย
จุดท่องเที่ยวภายในสถานีฯ
ปัจจุบันสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ มีพื้นที่ที่เปิดดำเนินการ ทั้งสิ้น 1,500 ไร่ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกเดินชม ศึกษาแปลงทดลองการเกษตรภายในสถานีฯ ได้ โดยบางจุดสามารถที่จะเดินเท้าได้ แต่บางจุดก็ควรใช้พาหนะ ซึ่งใช้ได้ทั้งรถเก๋ง รถขับเคลื่อนสี่ล้อ หรือจักรยาน โดยมีจุดที่น่าสนใจได้แก่
แปลงไม้ดอกเมืองหนาว (หมายเลข 1)
ถือเป็นจุดเด่นของสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือทีเดียว เนื่องจากจุดที่ตั้งของสถานีฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลยนั้น เป็นจุดที่ปลูกต้นไม้ดอกไม้ ประดับเมืองหนาว ได้มากมายหลายชนิด เทียบเท่ากับพื้นที่ทางเหนือของประเทศ อย่างเชียงใหม่ หรือเชียงราย แต่ที่นี่จะพิเศษกว่าตรงที่หนาวก่อน และหนาวยาวนานกว่าในภาคเหนือ ดังนั้นนักท่องเที่ยว จึงสามารถจะมาเที่ยวชมความงาม ของดอกไม้ประดับเมืองหนาวที่นี่ได้ก่อนใคร และระยะเวลาในการบานอวดสีสันของบรรดาไม้ดอกเหล่านี้ก็จะอยู่คงทนต่อไป จนถึงราวเดือน มีนาคม เลยทีเดียว แปลงไม้ดอกไม้
ประดับที่มีเนื้อที่ถึง 3 ไร่ เริ่มต้นจากแปลงกุหลาบพันธุ์ก้านแข็ง ดอกใหญ่หลากหลายสีสัน ถือเป็นราชินีของไม้ดอกทั้งมวล แปลงเพาะพันธุ์กุหลาบจะตั้งอยู่บนเนินเขา ลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้นๆ เห็นทิวเขาที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ มีทางเดินที่นักท่องเที่ยว สามารถเดินลัดเลาะเที่ยวชมได้ตลอด ส่วนไม้ดอกเมืองหนาวอื่นๆได้แก่ แพนซี่ คาร์เนชั่น ฟอร์เก็ตมีนอท ลิ้นมังกร หน้าแมว พิทูเนีย รวมถึงคะน้าใบหยัก ที่เมื่ออุณหภูมิต่ำถึงระดับความเย็นจัด จะเปลี่ยนเป็น สีขาวทั้งต้น ตัดกับกุหลาบแฟนซีที่เป็นสีม่วงทั้งต้น สวยงามน่าชมมาก
ทุ่งซัลเวียและแปลงรวบรวมไม้ผลเมืองหนาว (หมายเลข 2)
ทุ่งซัลเวียและแปลงรวบรวมไม้ผลเมืองหนาว (หมายเลข 2)
ซัลเวีย เป็นไม้ดอกเมืองหนาวมีดอกสีแดงเข้ม ตัดกับใบสีเขียวของมัน มีถิ่นกำเนิดจากประเทศบราซิล ชอบอากาศเย็น ซัลเวียเมื่ออยู่ลำพังเพียงต้นเดียวก็ดูไม่โดดเด่นอะไรนัก แต่ถ้าอยู่รวมกันเป็นทุ่งแล้ว สีแดงเข้ม ที่ดารดาษเต็มทุ่งของมัน จะแต่งแต้มให้พื้นที่ตรงนั้นสว่างไสว ขึ้นมาทันที ทุ่งซัลเวียที่สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือแห่งนี้ปลูกอยู่บนเนินเขา แทรกแซมอยู่ระหว่างแปลงไม้ผลเมืองหนาวหลากหลายชนิด ทั้งแอปเปิ้ล ท้อ สาลี่ และพลัม ซึ่งเป็นพันธุ์ทดลองปลูกในพื้นที่สูงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากนักท่องเที่ยว มาตรงช่วงเวลาที่ไม่ผลเหล่านี้ออกผล ซึ่งตรงกับช่วงราวเดือนมีนาคม - กรกฎาคม ก็สามารถเด็ดชิมได้จากต้นเลยทีเดียว หรือ หากเดินทางมาในช่วงหนาว ก็จะได้ชมไม้ผลเหล่านี้ทิ้งใบผลิดอกเต็มต้น การได้เดินชมดอกท้อ แอปเปิ้ล สาลี่ บานเต็มต้น ตัดกับสีสันอันสดใสของทุ่งซัลเวีย แดง ม่วง ชมพู จึงเป็นบรรยากาศชวนให้เพลิดเพลินใจเป็นอย่างยิ่ง
แปลงไม้กฤษณา (หมายเลข 3)
แปลงไม้กฤษณา (หมายเลข 3)
"กฤษณา" อาจเป็นไม้ที่เราอาจได้ยินชื่อมานานในฐานะยาสมุนไพร ที่มีกลิ่นหอม แต่น้อยคนนักที่จะเคยได้เห็นต้นจริงของพืชชนิดนี้ ส่วนของไม้กฤษณาที่มีกลิ่นหอมและนำมาใช้ทำยาคือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ หรือแก่นไม้นั่นเอง ความจริงแล้วเนื้อไม้ของกฤษณาที่แท้จะเป็นสีขาวนวลไม่มีกลิ่น แต่กลิ่นหอมของมันมาจากการที่เชื้อราเข้าไปเจริญในเนื้อไม้ทำให้ไม่เป็นรากลายเป็นสีเข้มและส่งกลิ่นหอมระเหยออกมา ไม้กฤษณาจะเริ่มมีเชื้อราเมื่ออายุต้นมากกว่า 20 ปี และจะหอมสมบูรณ์ทั้งต้นเมื่อมีอายุราว 50 ปี
ไม้กฤษณานั้นชาวฮินดูนิยมนำมาจุดไฟ เพื่อให้มีกลิ่นหอมในโบสถ์ผงไม้หอมใช้โรยบนเสื้อฆ่าหมัดและเหาในแหลมมาลายู ใช้ไม้หอมเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ และใช้บำบัดโรคผิวหนังหลายชนิด ในเมืองไทยใช้สกัดเป็นน้ำหอมใช้ทำสบู่ และเครื่องสำอาง ถือเป็นไม้มีราคาแพง การทำให้ไม้กฤษณาเกิดเป็นเชื้อราขึ้นนั้น ก็จะใช้วิธีเจาะรู ให้เกิดเป็นรา เพื่อกระตุ้นกลิ่นหอม นักท่องเที่ยวสามารถชมวิธีการเจาะรูไม้กฤษณา และทดลองดมกลิ่นหอมที่ระเหย ออกมาจากต้นของมันได้ที่แปลงทดลองพันธุ์ไมกฤษณาของ สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ
ไม้กฤษณานั้นชาวฮินดูนิยมนำมาจุดไฟ เพื่อให้มีกลิ่นหอมในโบสถ์ผงไม้หอมใช้โรยบนเสื้อฆ่าหมัดและเหาในแหลมมาลายู ใช้ไม้หอมเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ และใช้บำบัดโรคผิวหนังหลายชนิด ในเมืองไทยใช้สกัดเป็นน้ำหอมใช้ทำสบู่ และเครื่องสำอาง ถือเป็นไม้มีราคาแพง การทำให้ไม้กฤษณาเกิดเป็นเชื้อราขึ้นนั้น ก็จะใช้วิธีเจาะรู ให้เกิดเป็นรา เพื่อกระตุ้นกลิ่นหอม นักท่องเที่ยวสามารถชมวิธีการเจาะรูไม้กฤษณา และทดลองดมกลิ่นหอมที่ระเหย ออกมาจากต้นของมันได้ที่แปลงทดลองพันธุ์ไมกฤษณาของ สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ
สวนไม้หอมเฉลิมพระเกียรติ (หมายเลข 4)
สวนไม้หอมนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ในวโรกาสเจริญพระชมมายุครบ 5 รอบ โดยได้ทำการรวบรวมพันธุ์ไม้หอมทั้งหมด 25 ชนิด มาปลูกไว้ในที่เดียวกัน ได้แก่ สายน้ำผึ้ง แก้ว พุดสามสี ราตรี มะลิ พุดซ้อน ราชาวดี กระทิง มหาหงส์ นมแมง คัดเค้า บุหงาส่าหรี พุดจีบและกรรณิการ์นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมและสำรวจความหอมที่แตกต่างกันของพรรณไม้แต่ละชนิดได้ที่สวนแห่งนี้นอกจากนี้ติดกันกับสวนไม้หอมยังมีแปลงอบเชยเครื่องเทศสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่สถานีฯ ทำการทดลอง เพื่อทดสอบพันธุ์ก่อนที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต่อไป
ชิมสตรอเบอรี่จากแปลง (หมายเลข 5)
สตรอเบอรี่ ผลไม้ที่ไม่มีใครปฏิเสธความหวานฉ่ำอร่อยลิ้นของมันได้ สตรอเบอรี่ นอกจากจะมีรสชาติหวานลิ้นแล้วยังเป็นแหล่งที่ให้เส้นใยอาหารเป็นอย่างดี ทุกวันนี้สตรอเบอรี่จึงพลิกบทบบาท กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับเกษตรกรในพื้นที่สูง สตรอเบอรี่ ผลไม้เมืองหนาวชนิดนี้ได้ถูกนำมา ปลูกในเมืองหนาวชนิดนี้ได้ถูกนำมาปลูกในเมืองไทยราว 70 ปีมาแล้วเป็นสตรอเบอรี่พันธุ์พื้นเมืองซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนานำเข้าพันธุ์จากต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมาย จนพบพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งในภายหลังได้นำมาทดลองปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ซึ่งในภายหลังได้นำมาทดลองปลูก ในพื้นที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย และพบว่าสามารถขึ้นได้ดี เนื่องจากมีความสูงพอสมควร มีอากาศเย็นและลักษณะดินพอเหมาะ จนทุกวันนี้มีพื้นที่หลายๆ แห่งในอำเภอภูเรือได้มีการปลูกสตรอเบอรี่ กันเป็นที่แพร่หลาย หากเดินทางมาที่นี่ในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม นักท่องเที่ยวคงอดใจไม่ได้ ที่จะขอลองลิ้นชิมรสความหวานหอมของสตรอเบอรี่จากแปลงทดลองของที่นี่
แปลงมะคาเดเมีย และโรงอบมะคาเดเมีย (หมายเลข 6,7)
มะคาเดเมียนัท เป็นไม้ต้นสูงใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลีย ใบหนาทึบและแข็ง ดอกเป็นช่อยาว ประกอบด้วยดอกเล็กๆ สีขาวเต็มช่อ ห้อยระย้าเต็มต้น มีกลิ่นหอมมมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรได้มีความพยายามที่จะทดสอบพันธุ์มะคาเดเมียเพื่อทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจเนื่องจากผลมะคาเดเมียนั้นตลาดมีความต้องการสูง มีราคาแพงมากนิยมนำไปคั่วอบเกลือหรือเป็นส่วนผสมในช็อกโกแลต ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้ามาโดยตลอด ผลมะคาเดเมียนัท มีลักษณะเป็นลูกกลมๆ ขนาดประมาณ 1 นิ้ว สีเขียวเมื่อทุบเปลือกออก เนื้อในจะมันหวาน นิยมนำไปคั่วอบเกลือ เป็นของขบเคี้ยว นักท่องเที่ยวสามารถทดลองชิมมะคาเดเมียคั่วอบเกลือที่ทางสถานีฯ ได้ทดลองทำการอบเกลือบรรจุใส่ถุงสำหรับให้แขกที่มาเยือนได้ชิมหากติดใจก็อาจจะขอซื้อเป็นของฝากติดมือกลับบ้านได้ด้วย "บ้านไร่ปลายฟ้า"
โรงเรือนเพาะชำไม้กระถาง (หมายเลข 8)
โรงเรือนเพาะชำไม้กระถาง (หมายเลข 8)
หลังจากชมแปลงต่างๆ จนทั่วแล้ว "บ้านไร่ปลายฟ้า" อาจเป็นแหล่งสุดท้ายที่นักท่องเที่ยว จะมาแวะชม เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศ ชวนให้สดชื่นสบายตาสบายใจ ของโรงเรือนเพาะชำไม้กระถางต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้สำหรับปลูกในห้องแอร์ อย่างพวกกล็อกซีเนีย อาฟริกันไวโอเล็ต ผีเสื้อพิทูเนีย ไม้กระถางเหล่านี้ทางสถานีเพาะชำ
เพื่อสำหรับประดับตามสถานที่ต่างๆ ตามแต่ที่หน่วยงานต่างๆ จะขอมา รวมทั้งจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่สนใจอีกด้วย ใกล้ๆ กับบ้านไร่ปลายฟ้า มีโรงเรือน เพาะชำดอกหน้าวัวอยู่ไม่ไกลนัก สามารถแวะไปเที่ยวชมได้หรือหาซื้อติดมือกลับบ้านได้เช่นกัน สิ่งอำนวยความสะดวก การพักแรม สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ มีบ้านพักรองรับนักท่องเที่ยว ได้ 2 หลัง แต่ละหลังพักได้ตั้งแต่ 6 - 10 คน มีที่กางเต็นท์ ตรงบริเวณลานสนสามใบ อยู่ไม่ไกลจากอาคารสำนักงานมากนัก สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 100 คน มีโรงครัวกลาง ขายอาหารตามสั่ง ทั้งนี้หากไปในช่วงวันเสาร์ - อาทิตย์ ควรติดต่อไปล่วงหน้าเพื่อสอบถามเรื่องการพักแรม และอาหาร
สิ่งอำนวยความสะดวก
การพักแรม
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ มีบ้านพักรองรับนักท่องเที่ยว ได้ 2 หลัง แต่ละหลังพักได้ตั้งแต่ 6 - 10 คนมีที่กางเต็นท์ ตรงบริเวณลานสนสามใบ อยู่ไม่ไกลจากอาคารสำนักงานมากนัก สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 100 คน มีโรงครัวกลางขายอาหารตามสั่ง ทั้งนี้หากไปในช่วงวันเสาร์ - อาทิตย์ ควรติดต่อไปล่วงหน้าเพื่อสอบถามเรื่องการพักแรม และอาหาร
การเดินทาง
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ตั้งอยู่ที่ ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ตั้งอยู่ที่ ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
รถยนต์ส่วนตัว นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง เส้นทางแรก จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านตัวเมืองสระบุรี ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 203 ผ่านอำเภอหล่มสัก หล่มเก่า เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอด่านซ้าย ผ่านอำเภอด่านซ้ายเข้าเขตอำเภอภูเรือ ก่อนถึงอำเภอภูเรือ ประมาณ 7 กิโลเมตร (บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 57 - 58 ) เป็น มีแยกสามแยกกกโพธิ์ ให้เลี้ยวขวา จะเห็นป้ายขวามือ บอกทางเข้าสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ตรงเข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร จะถึงแยก "บ. ปลาบ่า - หินสอ" ให้เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 16 กิโลเมตร สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ตั้งอยู่ด้านขวามือ รวมระยะทางทั้งสิ้น 487 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 - 8 ชั่วโมง อีกเส้นทางหนึ่ง ไปตามทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201 เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอภูกระดึง ผ่านอำเภอวังสะพุง แล้วตัดเข้าอำเภอภูเรือได้เช่นกัน เส้นทางนี้จะอ้อมมากกว่าการเดินทางไปสถานีเกษตรที่สูงภูเรือ โดยรถประจำทางไม่สะดวกนัก นักท่องเที่ยวต้องนั่งรถไปถึงอำเภอภูเรือ แล้วจึงหารถรับจ้างไปที่สถานีฯ
ที่มา http://www.thai-tour.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น