ประวัติการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ภูหลวงมีความหมายว่าภูเขาที่ยิ่งใหญ่ หรือหมายถึงภูเขาของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งนับเป็นสิริมงคลนามที่บรรพบุรุษได้ตั้งชื่อไว้ ภูหลวงเกิดจากการยกตัวของพื้นผิวโลก และดินส่วนที่อ่อนถูกพัดพาลงสู่พื้นที่ส่วนต่ำ คงเหลือหินซึ่งเป็นโครงสร้างที่แข็งไว้เป็นภูเขา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงได้รับการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 91 ตอนที่ 216 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2517 มีเนื้อที่ประมาณ 848 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 530,000 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นมาใหม่ซึ่งเรียกว่า “พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูหลวง ในท้องที่ตำบลปลาบ่า ตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ ตำบลโพนสูง ตำบลวังยาว ตำบลอีปุ่ม อำเภอด่านซ้าย ตำบลหนองงิ้ว ตำบลเขาหลวง ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุงและตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย และได้มีการกำหนดให้บริเวณที่ดินป่าภูหลวง ในท้องที่ตำบลปลาบ่า ตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ ตำบลโพนสูง ตำบลวังยาว ตำบลอีปุ่ม อำเภอด่านซ้าย ตำบลหนองงิ้ว ตำบลเขาหลวง ตำบลทราบขาว อำเภอวังสะพุง และตำบลภูหอ ตำบลเลยวังไสย์ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลาบ่า ตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ ตำบลโพนสูง ตำบลวังยาว ตำบลอีปุ่ม อำเภอด่านซ้าย ตำบลหนองงิ้ว ตำบลเขาหลวง ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง และตำบลภูหอ ตำบลเลยวังไสย์ อำเภอภูหลวง อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 องศา 3 ลิปดา ถึง 17 องศา 24 ลิปดา เหนือ เส้นแวงที่ 101 องศา 16 ลิปดา ถึง 101 องศา 21 ลิปดา ตะวันออก
ลักษณะสภาพภูมิประเทศ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาใหญ่ แนวเขตเริ่มจากระดับความสูงประมาณ 400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางยอดเขาที่สูงที่สุดของภูหลวงมีความสูงประมาณ 1,571 เมตร เทือกเขาซีกตะวันออกมีลักษณะเป็นภูเขาลูกใหญ่ที่มีที่ราบบนหลังเขาที่ระดับความสูง 1,200-1,500 เมตร เนื้อที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร เทือกเขาซีกตะวันตกเป็นภูเขาลูกเล็ก ๆ ตั้งชันสลับสับซ้อน เป็นลูกคลื่นระดับความสูง 600-800 เมตร ภูเขาทาง ทิศตะวันออกเป็นหน้าผาเขาสูงชันลาดลงสู่ทิศตะวันตกเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเลยและแม่น้ำป่าสักซึ่งแม่น้ำเลยจะไหลผ่านกลางพื้นที่จากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ แล้วไหลย้อนผ่านอำเภอวังสะพุง ไปลงสู่แม่น้ำโขงในเขตอำเภอเชียงคาน ส่วนแม่น้ำป่าสักเกิดขึ้นจากลำธารหลาย ๆ สายทางด้านทิศตะวันตกของเขตรักษาพันธุ์ป่าภูหลวง ก่อให้เกิดแม่น้ำไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ลงสู่ที่ราบภาคกลางไปบรรจบกับแม่น้ำลพบุรีที่อำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนที่จะไหลสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและไหลลงสู่อ่าวไทยในที่สุด
ลักษณะทางธรณีวิทยาของบริเวณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเช่นเดียวกับพื้นที่ราบสูงโดยทั่วไป มีลักษณะของชั้นที่วางตัวแบบกระทะหงาย (Syncline) ในแนวเหนือ-ใต้ มีรอยเลื่อน (Fault) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอีกหลายแห่ง ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของโครงสร้างทางธรณีวิทยาในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้มีการยกตัวมาแต่อดีต และหลายพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ประกอบด้วยเขาหินโผล่โดยทั่วไป
ลักษณะทางธรณีในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ประกอบด้วยหินอัคนีและหินตะกอนของชุดหินโคราช (Korat Group) และชุดหินราชบุรี (Ratburi Group) โดยทั้งหมดเกิดในช่วงอายุ(Age) Lower Middle Cretaceous จนถึง Perimain อันประกอบด้วยหน่วยหิน (Formation) ต่าง ๆ คือหน่วยหินภูพาน เสาขรัว พระวิหาร ภูกระดึง น้ำพอง ห้วยหินลาด และหน่วยหินผาเดื่อ ซึ่งลักษณะโดยรวมเป็นหินทราย ที่มีสีและส่วนส่วนประกอบที่แตกต่างกันไปนอกจากนั้นยังมีหินดินดานสีน้ำตาลถึงเทาแกมน้ำตาลรวมถึงหินปูนสีเทาแก่ หินกรวดมนทัฟฟ์ และหินที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวในอากาศของลาวากระจายอยู่ปะปนกัน
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมแต่เนื่องจากพื้นที่อยู่ห่างไกลชายฝั่งทะเลค่อนข้างมากจึงทำให้อากาศมีแบบกึ่งร้อน และเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาที่ราบสูงจึงมีความหนาวเย็นยาวนานกว่าพื้นที่ราบของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่วไป
1.อุณหภูมิ
จากข้อมูลอุณหภูมิของสถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดเลย จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิของพื้นที่ในแต่ละช่วงปีจะมีค่าเฉลี่ยรายเดือนไม่แตกต่างกันมากนัก โดยค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิรายเดือนมีค่าเปลี่ยนแปลงจาก 26.2 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม จนถึง 28.0 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิตลอดทังปีเท่ากับ 27.1 องศาเซลเซียส สำหรับค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายเดือนเท่ากับ 38.2 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 16.0 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่ในช่วงเดือน มกราคม
2.ปริมาณน้ำฝนส่วนปริมาณน้ำฝนจากข้อมูลของสถานีตรวจวัดอากาศเลย จะเห็นได้ว่าช่วงที่มีสภาพฝนตกชุกจะยาวนานกว่าช่วงอื่น ๆ ซึ่งมีช่วงยาวนานถึง 6 เดือน โดยครอบคลุมตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคมซึ่งค่าน้ำฝนที่ตกในช่วงนี้จะมีปริมาณสูงในแต่ละเดือนจะมีค่าไม่ต่ำกว่า 100 มิลิเมตร โดยเฉพาะในเดือนกันยายนจะมีปริมาณฝนเฉลี่ยสูงสุดถึง 226.8 มิลลิเมตร และ ปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยต่ำสุด 3.9 มิลิเมตร ในเดือนธันวาคมปริมาณน้ำฝนรายปีมีค่าเท่ากับ 1,238.1 มิลลิเมตร จากวันที่มีฝนตก 130 วัน/ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจำนวนวันที่ตกในช่วงฤดูฝน โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 35.62 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนวันที่ฝนตกทั้งปี และเดือนที่มีจำนวนวันที่ฝนตกมากที่สุด ได้แก่ เดือนกันยายนประมาณ 20วัน
3. การคายระเหยข้อมูลการคายระเหยจากถาดวัดการระเหยของสถานีตรวจวัดอากาศเลยแสดงถึงข้อมูลปริมาณการระเหย เฉลี่ยรายเดือนในรอบ 30 ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าพื้นที่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงมีการระเหยสูงโดยค่าการระเหยรายปีเฉลี่ยมีค่าสูงถึง 1,576.4 มิลิเมตร โดยสูงสุดในเดือนเมษายนมีค่าถึง 173.0 มิลิเมตร และต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเท่ากับ 108.6 มิลิเมตร
4.ความชื้นสัมพัทธ์
5.ลม
ข้อมูลกระแสลมจากสถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดเลย จะเห็นได้ว่าที่พัดอยู่ในพื้นที่จะพัดมาจากสองทิศทางหลัก คือ ทิศทางเหนือสำหรับช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม และ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ลมประจำถิ่นจะ มีทิศทางด้านตะวันตก โดยความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปีมีค่าเท่ากับ 5 น๊อต หรือ 92.65 กิโลเมตร/ชั่วโมง
เส้นทางคมนาคม
การเดินทางจากจังหวัดเลย ไปยังที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ภูหลวง ออกเดินทางจาก อำเภอเมือง จังหวัดเลย ไปตามทางสายจังหวัดเลย – อำเภอภูเรือ ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตรถึงบ้านสานตมแล้วเลี้ยวซ้ายที่บ้านสานตมไปอีก 18 กิโลเมตรจะถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ระยะทางจากบ้านสานตมถึงโคกนกกระบา(หลังภูหลวง)28 กม.
ข้อมูลความชื้นสัมพันธ์จากสถานีตรวจวัดอากาศเลย จากการศึกษาพบว่าการผันแปรของค่าเฉลี่ยรายเดือนมีค่าสูง ในช่วงฤดูฝนและลดต่ำลงในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนตามลำดับตามค่าความเปลี่ยนแปลงไม่สูงนัก คือ มีค่าความผันแปรเฉลี่ยรายเดือนจาก 60 เปอร์เซ็นต์ในเดือนมีนาคมถึง 83 เปอร์เซ็นต์ในเดือนกันยายน
5.ลม
ข้อมูลกระแสลมจากสถานีตรวจวัดอากาศจังหวัดเลย จะเห็นได้ว่าที่พัดอยู่ในพื้นที่จะพัดมาจากสองทิศทางหลัก คือ ทิศทางเหนือสำหรับช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม และ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ลมประจำถิ่นจะ มีทิศทางด้านตะวันตก โดยความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปีมีค่าเท่ากับ 5 น๊อต หรือ 92.65 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ศึกษาธรรมชาติและบริการ
รถบริการรับส่งนักท่องเที่ยว บรรทุกได้คันละประมาณ 10 คน ไป-กลับ ครั้งละ 700 บาท จอดที่ลานจอดรถหน้าสำนักงานรถบริการรับส่งนักท่องเที่ยว บรรทุกได้คันละประมาณ 10 คน ไป-กลับ ครั้งละ 700 บาท จอดที่ลานจอดรถหน้าสำนักงานฯ
เส้นทางคมนาคม
การเดินทางจากจังหวัดเลย ไปยังที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ภูหลวง ออกเดินทางจาก อำเภอเมือง จังหวัดเลย ไปตามทางสายจังหวัดเลย – อำเภอภูเรือ ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตรถึงบ้านสานตมแล้วเลี้ยวซ้ายที่บ้านสานตมไปอีก 18 กิโลเมตรจะถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ระยะทางจากบ้านสานตมถึงโคกนกกระบา(หลังภูหลวง)28 กม.
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง มี 2 เส้นทางคือ
แหล่งศึกษาธรรมชาติ
เส้นทางที่ 1 กรุงเทพ – จังหวัดสระบุรี – อำเภอสีคิ้ว – จังหวัดชัยภูมิ – อำเภอภูเขียว – อำเภอชุมแพ – อำเภอภูกระดึง – อำเภอวังสะพุง – จังหวัดเลย ระยะทางประมาณ 560 กม.
เส้นทางที่ 2
กรุงเทพฯ – จังหวัดสระบุรี – จังหวัดเพชรบูรณ์ – อำเภอหล่มสัก – อำเภอหล่มเก่า – อำเภอด่านซ้าย – อำเภอภูเรือ – จังหวัดเลย ระยะทางประมาณ 530 กม. เส้นทางที่ 2 ถ้าไม่เข้าถึงตัวจังหวัดเลย เมื่อเดินทางผ่านอำเภอภูเรือไปตามเส้นทางเข้าจังหวัดเลยได้ระยะทาง 14 กิโลเมตร จะถึงบ้านสานตมไปเป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
แหล่งศึกษาธรรมชาติ
1. ลานสุริยัน
เส้นทางศึกษาธรรมชาติลานสุริยันมีระยะทางเดินรวม 1,870 เมตร เดินเป็นวงรอบไม่ย้อนกลับทางเดิม
เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยและผู้สูงอายุเดินไกลไม่ได้เส้นทางเป็นพื้นราบไม่สูงชันมีหินโผล่เล็กน้อย ใช้เวลาเดินประมาณ 45-1 ชั่วโมง เหมาะแก่การศึกษาพืชพรรณต่างๆ เมื่อเดินเข้าสู่ลานสุริยันสิ่งที่น่าสนใจคือ สภาพป่าเป็นป่าดิบแคระมีพรรณไม้เด่นจำพวกก่อ เช่นก่อดำ,ก่อหนู,ส้มแปะ,กุหลาบแดง,กุหลาบขาว,ส้มสา,ซึ่งจะขึ้นสลับตามลานหินและมีกล้วยไม้ต่างๆ เช่นเอื้องตาเหิน,เอื้องสำเภางาม,เอื้องพลายงาม,สิงโตสยาม,สิงโตใบพาย,สิงโตรวงข้าว,เอื้องขยุกขยุย ฯลฯ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติลานสุริยันมีระยะทางเดินรวม 1,870 เมตร เดินเป็นวงรอบไม่ย้อนกลับทางเดิม
เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยและผู้สูงอายุเดินไกลไม่ได้เส้นทางเป็นพื้นราบไม่สูงชันมีหินโผล่เล็กน้อย ใช้เวลาเดินประมาณ 45-1 ชั่วโมง เหมาะแก่การศึกษาพืชพรรณต่างๆ เมื่อเดินเข้าสู่ลานสุริยันสิ่งที่น่าสนใจคือ สภาพป่าเป็นป่าดิบแคระมีพรรณไม้เด่นจำพวกก่อ เช่นก่อดำ,ก่อหนู,ส้มแปะ,กุหลาบแดง,กุหลาบขาว,ส้มสา,ซึ่งจะขึ้นสลับตามลานหินและมีกล้วยไม้ต่างๆ เช่นเอื้องตาเหิน,เอื้องสำเภางาม,เอื้องพลายงาม,สิงโตสยาม,สิงโตใบพาย,สิงโตรวงข้าว,เอื้องขยุกขยุย ฯลฯ
2.ผาสมเด็จ
เส้นทางเดินผาสมเด็จจากโคกนกกระบาไปทาง ทิศตะวันออกประมาณ 2 กม.ถัดจากผาช้างผ่านไปประมาณ 1 กม.เป็นจุดชมวิวมีความสูงประมาณ 1,480เมตรซึ่งมองออกไป จะเห็นแนวเทือกเขาและแนวชั้นหินของผาเตลิ่นเป็นเนินหญ้าลาด เป็นชั้นๆลงไปบริเวณหน้าผาเป็นป่าไม้พุ่มเตี้ยๆสลับกับโขดหินสวยงาม เนื่องจากบริเวณผาสมเด็จมีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เรียกว่าต้นสร้อยสมเด็จ ซึ่งค้นพบเป็นแห่งแรกจึงเรียกผานี้ว่าผาสมเด็จ
3.ผาเตลิ่น
ผาเตลิ่นอยู่ห่างจากโคกนกกระบาไปประมาณ 3.5 กม เป็นหน้าผาสูงราว 1,055 เมตรตั้งอยู่แนวโขดหินริมผาด้านตะวันออก ยาวราว 3 กิโลเมตร มีทุ่งหญ้าเล็กๆ กั้นอยู่ มีพรรณไม้แคระ กุหลาบแดง กุหลาบขาว และมีบีโกเนียแซมอยู่ตามชะง่อนหิน และสามารถมองเห็นเทือกเขา ภูกระดึงได้อย่างชัดเจน
4.รอยเท้าไดโนเสาร์
รอยเท้าไดโนเสาร์ ตามทางเดินบริเวณโคกยาวจะพบรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มีอายุ 100 - 140 ล้านปี
พบบนแผ่นหินทรายจำนวน 15 รอย เป็นพวกคาร์โนซอร์ หรือไดโนเสาร์กินเนื้อเป็นอาหารพบปี พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการพบรอยเท้าครั้งแรกแถบเอเชียอาคเนย์
การขอใช้บ้านพัก
พบบนแผ่นหินทรายจำนวน 15 รอย เป็นพวกคาร์โนซอร์ หรือไดโนเสาร์กินเนื้อเป็นอาหารพบปี พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการพบรอยเท้าครั้งแรกแถบเอเชียอาคเนย์
5.จุดดูพระอาทิตย์ขึ้นผาช้างผ่าน
ผาช้างผ่านอยู่ทางทิศตะวันออกของโคกนกกระบาระยะทาง เดินประมาณ 1 กม.เป็นจุดดูพระอาทิตย์ขึ้น
ยามเช้าที่สวยงาม เนื่องจากบริเวณนี้เป็นทางเดินของช้างตัดผ่านจะมีช้างป่าเดินผ่านเป็นประจำ จึงเรียกผานี้ว่าผาช้างผ่าน มีความสูงประมาณ 1,480 เมตร
ยามเช้าที่สวยงาม เนื่องจากบริเวณนี้เป็นทางเดินของช้างตัดผ่านจะมีช้างป่าเดินผ่านเป็นประจำ จึงเรียกผานี้ว่าผาช้างผ่าน มีความสูงประมาณ 1,480 เมตร
6.น้ำตกตาดเลย
น้ำตกตาดเลยอยู่ห่างจากโคกนกกระบาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6 กม. เส้นทางเดินค่อนข้างชัน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเลย เป็นน้ำตกชั้นเดียวตกจากหน้าผาสูงประมาณ 70 เมตร
การขอใช้บ้านพัก
การขอใช้บ้านพัก การขอใช้สถานที่และบ้านพัก ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยขออนุญาตล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันทำการ ยื่นได้ที่ฝ่ายบ้านพักสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทธยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ตู้ ปณ.52 ปทจ.เลย อ.เมือง จ.เลย 42000หรือโทร.สอบถามที่ ภูหลวงโทร.042-801955
และดาวน์โหลดแบบฟอร์มการใช้สถานที่และบ้านพักแล้วกรอกแบบฟอร์ม แฟ็กซ์มาที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เบอร์ 042-801955 ถ้าไป-กลับ ซื้อตั๋วได้ที่ศูนย์บริการนักศึกษาธรรมชาติด่านตรวจที่ 1
และดาวน์โหลดแบบฟอร์มการใช้สถานที่และบ้านพักแล้วกรอกแบบฟอร์ม แฟ็กซ์มาที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เบอร์ 042-801955 ถ้าไป-กลับ ซื้อตั๋วได้ที่ศูนย์บริการนักศึกษาธรรมชาติด่านตรวจที่ 1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น